Posted by : SilverXonic วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารข้อมูลระหว่าง อุปกรณ์ รับ-ส่ง 2 ชุด สามารถทำได้ 3 รูปแบบ (Mode) กล่าวคือ



1. Simplex คือ การสื่อสารที่เกิดขึ้นได้เพียงทิศเดียว ตลอดเวลาการ เชื่อมต่อ จะมีเพียงอุปกรณ์ชุดเดียวเท่านั้น ทำหน้าที่ส่งข้อมูล (Transmitter) และ อุปกรณ์อีกชุดหนึ่งทำหน้าที่รับข้อมูล (Receiver) เช่น การสื่อสาร ระหว่าง Mainframe กับ Monitor ดังรูป และ การเชื่อมต่อคีย์บอร์ดรุ่นเก่า ชุดบังคับวิทยุรถยนต์เด็กเล่นอย่างง่าย เป็นต้น

2. Half-Duplex คือ การสื่อสารที่อุปกรณ์ทั้งสองชุด สามารถส่งและรับข้อมูลได้ ทว่า อุปกรณ์แต่ละชุดไม่สามารถทำหน้าที่สองอย่างพร้อมๆ กันได้ กล่าวคือ ณ เวลาใดๆ จะมีเพียงอุปกรณ์ชุดเดียวเท่านั้น ทำหน้าที่ส่งข้อมูล ในขณะที่อุปกรณ์อีกชุดหนึ่ง รับข้อมูล ซึ่งอุปกรณ์คู่นี้ สามารถสลับบทบาท หน้าที่ได้ ตลอดการเชื่อมต่อ เช่น การสื่อสารวิทยุรับ–ส่ง (CB : Citizen Band) การสื่อสารบนพอร์ต (Port) อนุกรมของระบบอุตสาหกรรม เป็นต้น ในกรณีทั่วไประหว่างการสื่อสารแบบ Half Duplex ฝ่ายที่ส่งข้อมูลในขณะนั้น ต้องระบุข่าวสาร 3 ส่วน ได้แก่ ชื่อหรือหมายเลขผู้ส่ง ข้อความที่ต้องการส่ง และรหัสที่บ่งชี้ว่า การส่งข้อมูลได้เสร็จสิ้นลง พร้อมจะรับข้อมูล (เช่น over ทราบแล้วเปลี่ยน เป็นต้น)

3. Full-Duplex คือ การสื่อสารที่อุปกรณ์ทั้งสองชุด สามารถส่ง และรับข้อมูลในขณะเดียวกันได้ โดยมีข้อกำหนดว่า สัญญาณการสื่อสารต้องสามารถรองรับทิศทางของข้อมูลได้ทั้งสองทาง ซึ่งอาจทำได้ 2 รูปแบบ ได้แก่
• การเชื่อมต่อประกอบด้วย ช่องสัญญาณ 2 ช่อง แยกออกจากกันเป็นอิสระ โดยที่แต่ละช่องทำหน้าที่ถ่ายโอนข้อมูลในทิศทางตรงข้ามกัน และ
• การเชื่อมต่อ มีเพียงช่องสัญญาณเดียว แต่สามารถรองรับการถ่ายโอนข้อมูลได้ทั้งสองทิศทาง  ตัวอย่างการสื่อสารด้วยระบบ Full Duplex ได้แก่ โทรศัพท์ทั้งแบบเคลื่อนที่ และ ธรรมดาซึ่งคู่สายที่เกี่ยวข้องสามารถพูด-คุยพร้อมๆ กันได้ และ MSN Messenger เป็นต้น

credit : http://personal.sut.ac.th/paramate/

Leave a Reply

Subscribe to Posts | Subscribe to Comments


Popular Post

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

- Copyright © Monster Mickey -Metrominimalist- Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -