Posted by : SilverXonic วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

     ข่าวสารที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน มักถูกนำเสนอในรูปของข้อมูล ซึ่งมีประเภท ได้แก่ ข้อความ (Text) ตัวเลข (Numbers) ภาพนิ่ง (Images) เสียง (Audio) และ ภาพเคลื่อนไหว (Video) เป็นต้น ซึ่งข้อมูลแต่ละประเภทมีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้

Text
     การนำเสนอข่าวสารประเภท ข้อความมักจะอยู่ใน รูปแบบของกลุ่ม Bits ซึ่ง มีความยาวขึ้นอยู่กับจำนวนของสัญลักษณ์ในภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร โดยที่ การแปลงสัญลักษณ์เป็นกลุ่ม Bits (Bit Patterns) เรียกว่า การเข้ารหัส (Coding) ซึ่งมีหลายเทคนิคที่นิยมใช้ ได้แก่
- ASCII และ Extended ASCII (American Standard Code for Information Interchange) เข้ารหัสสัญลักษณ์ด้วยเลขฐาน 2 จำนวน 7 บิต ซึ่งสามารถแทนสัญลักษณ์ได้ทั้งสิ้นจำนวน 128 ตัว
- UNICODE เนื่องจากรหัส ASCII มีข้อจำกัด กล่าวคือไม่สามารถนำมาแทนอักขระในภาษาอื่นๆ
นอกเหนือจากภาษาอังกฤษได้ทันที (ยกเว้นมีการดัดแปลงในส่วนของซอฟท์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์) องค์กรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ซอฟท์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์จึงได้ร่วมมือกันออกแบบ รหัสที่มีความยาว 16 บิต (แสดงสัญลักษณ์ได้ 65536 ตัว) ซึ่งสามารถเข้ารหัสตัวอักษร ได้หลายภาษา
- ISO (International Organization for Standardization) ได้ออกแบบรหัสที่มีความยาวเพิ่มขึ้นไปอีก เป็น 32 บิต ซึ่งสามารถแสดงสัญลักษณ์ได้ถึงกว่า 4 พันล้านตัว ซึ่งเพียงพอสำหรับทุกภาษาที่ใช้กันในปัจจุบัน

Number
     อยู่ใน รูปแบบของกลุ่ม Bits เช่นเดียวกันกับข้อความ แต่ในการเข้ารหัส จะใช้การแปลงเลขฐาน 2 เป็นปริมาณที่นำเสนอโดยตรง

Image
     มีการนำเสนอในลักษณะ Bit Pattern เช่นกัน โดยที่ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด เราจะแทนภาพ 1 ภาพ ด้วยเมตริกซ์ (Matrix) ซึ่งมีสมาชิกเป็นตัวเลข โดยที่ค่าของตัวเลขอธิบาย สมบัติ ของจุดภาพ (Picture Element หรือ Pixel) ณ ตำแหน่งที่สัมพันธ์กัน

Audio
     แตกต่างจาก ข้อความ และตัวเลข ตรงที่เสียงเป็นข่าวสารชนิดต่อเนื่อง(Continuous)
แต่เนื่องจากการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์อยู่ในรูปแบบดิจิตอล ดังนั้นในบทถัดไป เราจะได้ศึกษาเทคนิคการแปลงข่าวสารประเภทนี้ ให้อยู่ในรูปตัวเลขฐาน 2 ในทำนองเดียวกันกับ ข้อความ และตัวเลข ข้อมูลเสียงมีการเข้ารหัสด้วยมาตรฐานที่หลากหลาย เช่น MP3, MIDI, WAV ฯลฯ

Video
    ได้แก่ ข่าวสารที่ประกอบด้วย ลำดับของชุดภาพนิ่งที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งสามารถนำเข้ารหัสด้วยมาตรฐาน เช่น AVI MOV และ MPEG ทั้งนี้โดยอาศัยคุณสมบัติความซ้ำซ้อนและความต่อเนื่องของข้อมูลลำดับภาพนิ่งที่ติดกัน จึงสามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหวด้วยข้อมูลที่มีปริมาณน้อยกว่าการนำภาพนิ่งมาเรียงกัน

credit : http://personal.sut.ac.th/paramate/

{ 1 ความคิดเห็น... read them below or add one }


Popular Post

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

- Copyright © Monster Mickey -Metrominimalist- Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -